วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD)


                http://www.kruupdate.com/news/newid-1024.html กล่าวถึงการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD) ว่า
                การจัดการเรียนรู้หรือการสอนเป็นงานที่ครูทุกคนต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ มากมายเพื่อให้นักเรียนสนใจที่จะเรียนรู้และเกิดผลตามที่ครูคาดหวัง    การจัดการเรียนรู้จัดเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์อย่างมาก ครูบางคนอาจจะละเลยเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือการออกแบบการสอน ซึ่งเป็นงานที่ครูจะต้องทำก่อนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ทำอย่างไร ทำไมจึงต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ ครูทุกคนผ่านการศึกษาและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาแล้ว ในอดีตการออกแบบการจัดการเรียนรู้จะเริ่มต้นจากการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การดำเนินการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ปัจจุบันการเรียนรู้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ครูจำเป็นต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน
วิกกินส์และแมกไท นักการศึกษาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเขาเรียกว่า Backward Design ซึ่งเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ครูจะต้องกำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนก่อน โดยเขาทั้งสองให้ชื่อว่า ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understandings) เมื่อกำหนดความเข้าใจที่คงทนได้แล้ว ครูจะต้องบอกให้ได้ว่าความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนนี้เกิดจากอะไร นักเรียนจะต้องมีหรือแสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง ครูมีหรือใช้วิธีการวัดอะไรบ้างที่จะบอกว่านักเรียนมีหรือแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นแล้ว จากนั้นครูจึงนึกถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คงทนต่อไป
แนวคิดของ Backward Design
Backward Design เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผลลัพธ์ปลายทางเป็นหลัก ซึ่งผลลัพธ์ปลายทางนี้จะเกิดขึ้นกับนักเรียนก็ต่อเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูจะต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กรอบความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลมีความสัมพันธ์กัน จากนั้นจึงจะลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ขยายรายละเอียดเพิ่มเติมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป
กรอบความคิดหลักของการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดย Backward Design มีขั้นตอนหลักที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 กำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ขั้นที่ 2 กำหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
ขั้นที่ 3 วางแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 กำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ก่อนที่จะกำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้น ครูควรตอบคำถามสำคัญต่อไปนี้
1.  นักเรียนควรจะมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง
2.  เนื้อหาสาระใดบ้างที่มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจของนักเรียนและความเข้าใจที่คงทน
     (Enduring Understandings) ที่ครูต้องการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนมีอะไรบ้าง
เมื่อจะตอบคำถามสำคัญดังกล่าวข้างต้น ให้ครูนึกถึงเป้าหมายของการศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ด้านเนื้อหาระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้งมาตรฐานการเรียนรู้ระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือท้องถิ่น การทบทวนความคาดหวังของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากมาตรฐานแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างลดหลั่นกันไป ด้วยเหตุนี้ขั้นที่ 1 ของ Backward Design ครูจึงต้องจัดลำดับความสำคัญและเลือกผลลัพธ์ปลายทางของนักเรียน ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจที่คงทนต่อไป
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
ความเข้าใจที่คงทนคืออะไร ความเข้าใจที่คงทนเป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ความคิดรวบยอด ความสัมพันธ์ และหลักการของเนื้อหาและวิชาที่นักเรียนเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรู้ที่อิงเนื้อหา ความรู้นี้เกิดจากการสะสมข้อมูลต่าง ๆ ของนักเรียนและเป็นองค์ความรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นด้วยตนเอง
การเขียนความเข้าใจที่คงทนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
ถ้าความเข้าใจที่คงทน หมายถึง สาระสำคัญของสิ่งที่จะเรียนรู้แล้ว ครูควรจะรู้ว่าสาระสำคัญหมายถึงอะไร คำว่า สาระสำคัญ มาจากคำว่า Concept ซึ่งนักการศึกษาของไทยแปลเป็นภาษาไทยว่า สาระสำคัญ ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ มโนมติ และสังกัป ซึ่งการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้นิยมใช้คำว่า สาระสำคัญ
สาระสำคัญเป็นข้อความที่แสดงแก่นหรือเป้าหมายเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปรวมและข้อแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาจครอบคลุมข้อเท็จจริง  กฎ  ทฤษฎี  ประเด็น และการสรุปสาระสำคัญและข้อความที่มีลักษณะรวบยอดอย่างอื่น
ประเภทของสาระสำคัญ
1. ระดับกว้าง  (Broad Concept)
ตัวอย่างสาระสำคัญระดับกว้าง
             - การจำแนกรูปเรขาคณิต ใช้วิธีพิจารณาขอบของรูป
2. ระดับการนำไปใช้  (Operative Concept หรือ Functional Concept)
ตัวอย่างสาระสำคัญระดับนำไปใช้
- รูปเรขาคณิตสามารถจำแนกโดยพิจารณาขอบของรูป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม
รูปวงรี
แนวทางการเขียนสาระสำคัญ
1. ให้เขียนสาระสำคัญของทุกเรื่อง โดยแยกเป็นข้อ ๆ (จำนวนข้อของสาระสำคัญจะเท่ากับจำนวนเรื่อง)
2. การเขียนสาระสำคัญที่ดีควรเป็นสาระสำคัญระดับการนำไปใช้
3. สาระสำคัญต้องครอบคลุมประเด็นสำคัญครบถ้วน เพราะหากขาดส่วนใดไปแล้วจะทำให้นักเรียนรับสาระสำคัญที่ผิดไปทันที
4. การเขียนสาระสำคัญที่จะให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญวิธีการหนึ่งคือ การเขียนแผนผัง
สาระสำคัญของการจำแนกรูปเรขาคณิตสามารถจำแนกโดยพิจารณาขอบของรูป ได้แก่
                                              สามเหลี่ยม เป็นรูปที่มีด้าน 3 ด้าน และมีมุม 3 มุม 
                                              รูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปที่มีด้านสี่ด้านจดกัน และมีมุม 4 มุม  
                                              รูปวงกลมเป็นรูปที่ไม่มีด้านและไม่มีมุม และมีเส้นรอบวงยาวจากจุดศูนย์เท่ากัน
                              รูปวงรีเป็นรูปที่ไม่มีด้าน ไม่มีมุม คล้ายรูปวงกลมแต่มีลักษณะรี และมีเส้นรอบวงยาวจากจุดศุนย์กลางไม่เท่ากัน
5. การเขียนสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องใดควรเขียนลักษณะเด่นที่มองเห็นได้หรือนึกได้ออกมาเป็นข้อ ๆ  แล้วจำแนกลักษณะเหล่านั้นเป็นลักษณะจำเพาะและลักษณะประกอบ
6. การเขียนข้อความที่เป็นสาระสำคัญ ควรใช้ภาษาที่มีการขัดเกลาอย่างดี  เลี่ยงคำที่มีความหมายกำกวมหรือฟุ่มเฟือย
ขั้นที่ 2 กำหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่า
        นักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
เมื่อครูกำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนแล้ว ก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไปขอให้ครูตอบคำถามสำคัญต่อไปนี้
- นักเรียนมีพฤติกรรมหรือแสดงออกในลักษณะใด จึงทำให้ครูทราบว่า นักเรียนบรรลุผลลัพธ์ปลายทางตามที่กำหนดไว้แล้ว
- ครูมีหลักฐานหรือใช้วิธีการใดที่สามารถระบุได้ว่านักเรียนมีพฤติกรรมหรือแสดงออกตามผลลัพธ์ปลายทางที่กำหนดไว้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการของ Backward Design เน้นให้ครูรวบรวมหลักฐานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จำเป็นและมีหลักฐานเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์แล้วไม่ใช่เรียนแค่ให้จบตามหลักสูตรหรือเรียนตามชุดของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้เท่านั้น วิธีการของ Backward Design ต้องการกระตุ้นให้ครูคิดล่วงหน้าว่า ครูควรจะกำหนดและรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์อะไรบ้างก่อนที่จะออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักฐานดังกล่าวควรจะเป็นหลักฐานที่สามารถใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียนและครูได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ครูควรใช้วิธีการวัดและประเมินแบบต่อเนื่องอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ ตลอดระยะเวลาที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการให้ครูทำการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียกว่า สอนไปวัดผลไป
จึงกล่าวได้ว่าขั้นนี้ ครูควรนึกถึงพฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักเรียน โดยพิจารณาจากผลงานหรือชิ้นงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนเกิดผลลัพธ์ปลายทางตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วและเกณฑ์ที่ใช้ประเมินควรเป็นเกณฑ์คุณภาพในรูปของมิติคุณภาพ (Rubrics) อย่างไรก็ตามครูอาจจะมีหลักฐานหรือใช้วิธีการอื่น ๆ เช่น การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การสัมภาษณ์ การศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติขณะเรียนรู้ประกอบด้วยก็ได้
การกำหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์ปลายทางที่กำหนดไว้แล้ว
หลังจากที่ครูได้กำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนแล้ว ครูควรกำหนดภาระงานและวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์ปลายทางที่กำหนดไว้แล้ว
ภาระงาน หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/มาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ลักษณะสำคัญของงานจะต้องเป็นงานที่สอดคล้องกับชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุการณ์จริงมากกว่ากิจกรรมที่จำลองขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบ ซึ่งเรียกว่า งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมายต่อผู้เรียน (Meaningful Task) นอกจากนี้งานและกิจกรรมจะต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/มาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ทั้งนี้เมื่อได้ภาระงานครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว ครูจะต้องนึกถึงวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภท ครูจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับภาระงานที่นักเรียนปฏิบัติ

                https://www.gotoknow.org/posts/224435 กล่าวถึงการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD) ว่า
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ  Backward Design นั้น   เป็นแนวคิดของ  Grant Wiggins และ   Jay McTich   ซึ่งคิดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)   โดยเขียนหนังสือเรื่อง Understanding by Design   นักวิชาการชาวไทยที่นำมาพัฒนาเผยแพร่ คือ ดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา, ดร.เพ็ญนี  หล่อวัฒนพงษา    การออกแบบการเรียนรู้แบบ  Backward Design เป็นที่นิยมของโรงเรียนนานาชาติ ได้เผยแพร่เป็นที่รู้จักในวงการศึกษาไทยจากการอบรมปฏิบัติการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ดอกเตอร์โกวิท  ประวาลพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้จัดอบรมให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อการอบรมเรื่องการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ  Backward Design
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design เป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับ เริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ โดยนำการวัดผลมาเป็นหลัก จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน
                 ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน(หาหลักฐานการเรียนรู้)
ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบการเรียนรู้



ตัวอย่างแผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
จำนวนเต็ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                           ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 จำนวนเต็ม                                                                                     เวลา 1 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ
         จำนวนเต็มแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ จำนวนเต็มบวก ศูนย์และจำนวนเต็มลบ ซึ่งจำนวนเต็ม
บวกหรือจำนวนนับ ได้แก่ 1, 2, 3, ... ศูนย์ ได้แก่ 0 และจำนวนเต็มลบ ได้แก่ –1, –2, –3, ...
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1.   ระบุหรือยกตัวอย่าง และเปรียบเทียบจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์ เศษส่วน และ         ทศนิยม  (1.1  . 1/1)
 2. บวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม และนำไปใช้แก้ปัญหา ตระหนักถึงความ สมเหตุสมผลของคำตอบอธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการบวก การลบ การคูณ การหาร และบอกความสัมพันธ์ของ การบวกกับ การลบ การคูณ กับ การหารของจำนวนเต็ม (1.2  . 1/1)
 3.  นำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหา (1.4  . 1/1)
 4. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา (6.1  . 1/1)
 5. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม (6.1  . 1/2)
 6. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม (6.1  . 1/3)
 7. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน (6.1  . 1/4)
 8. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ (6.1  . 1/5)
 9. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (6.1  . 1/6)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. ระบุหรือยกตัวอย่างจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ได้ (K)
          2. ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย รอบคอบ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง (A)
          3. การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนำเสนอและการเชื่อมโยงหลักการความรู้
             ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


ด้านความรู้ (K)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. ตรวจผลการทำแบบทดสอบก่อน
แบบทดสอบก่อนเรียน
   เรียน


2. สังเกตจากการซักถาม การแสดง  
แบบบันทึกผลการอภิปราย
   ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
     ความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ
แบบบันทึกความรู้

   และการอภิปรายร่วมกัน


3. ตรวจผลการปฏิบัติตาม
  กิจกรรมฝึกทักษะ 2.1
   ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   กิจกรรมฝึกทักษะ 2.1


ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตพฤติกรรมขณะทำงาน
แบบประเมินพฤติกรรมขณะ
  ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
  ร่วมกับกลุ่ม
  ทำงานร่วมกับกลุ่ม

2. ประเมินพฤติกรรมตามรายการ 
แบบประเมินด้านคุณธรรม
  ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   ด้านคุณธรรม จริยธรรม
  จริยธรรม และค่านิยม

   และค่านิยม


ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
วิธีการวัดผลและการประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัด
1. สังเกตพฤติกรรมการสื่อสาร
แบบประเมินด้านทักษะ/
   ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   การเชื่อมโยงหลักการความรู้
  กระบวนการ

   ทางคณิตศาสตร์


2. ประเมินพฤติกรรมตามรายการ


   ประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ


3. สังเกตขณะปฏิบัติตาม
กิจกรรมฝึกทักษะ 2.1
   ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3 ขึ้นไป
   กิจกรรมฝึกทักษะ 2.1
  

5. สาระการเรียนรู้
             จำนวนเต็ม

6. แนวทางบูรณาการ
            ภาษาไทย                           ตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และอภิปรายจำนวนเต็มบวก จำนวน เต็มลบ ศูนย์
            สุขศึกษาฯ                         เล่นเกมจับคู่บัตรจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์
            ศิลปะ                                 ออกแบบบัตรจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์ ได้อย่างสวยงามและสร้างสรรค์
            การงานอาชีพฯ                ประดิษฐ์ของใช้ที่มีแนวความคิดตามเนื้อหาจำนวนเต็มจากเศษวัสดุเหลือใช้
7. กระบวนการจัดการเรียนรู การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD)
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
                1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จำนวน 25 ข้อ (25 คะแนน)
                2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
                3. ครูให้นักเรียนนับเลข 1–20 พร้อม ๆ กัน
ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
                1. ครูอธิบายว่าจำนวนที่นักเรียนนับ คือ 1–20 เรียกว่า จำนวนเต็มบวก แล้วตั้งคำถาม
                   เช่น
                                1) จำนวน 20–100 เรียกว่า จำนวนเต็มบวกหรือไม่ เพราะอะไร
                                2) จำนวน 100, 101, 102, ... เรียกว่าจำนวนอะไร ครูตั้งคำถามเพิ่มเติมจน
                                    นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนเต็มบวก
                2. ให้นักเรียนนับจำนวนลดทีละ 1 จากจำนวน 2 ลงไปและครูอธิบายเพิ่มเติม เช่น
                    จำนวนหลัง 0 จะให้เป็น –1, –2, –3, … เรียกจำนวนเหล่านี้ว่าจำนวนเต็มลบ
                    ส่วนจำนวนที่อยู่ระหว่าง 1 และ –1 เรียกว่า ศูนย์
                3. ครูเขียนเส้นจำนวนบนกระดาน (มีแค่เส้นและสเกลแต่ไม่ระบุจำนวน)
                4. สุ่มนักเรียนให้เติมจำนวนเต็มตามสเกลต่าง ๆ ของเส้นจำนวน ครูตั้งคำถามเพื่อให้
           นักเรียนเข้าใจในเรื่องจำนวนเต็ม เช่น
                                1) เส้นจำนวนนี้มีจำนวนเต็มอะไรบ้าง
                                2) จำนวนเต็มแต่ละจำนวนห่างกันเท่าไร
                                3) จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ ควรเรียกรวมว่าอย่างไร
                                4) สรุปได้ว่าจำนวนเต็มแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
                5. ให้นักเรียนทำกิจกรรมดังนี้
                                1) ครูแจกบัตรจำนวนเต็ม ทศนิยม เศษส่วน ฯลฯ ให้นักเรียนคนละ 1–2 ใบ
                                2) ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม เช่น
                                                ฉันเป็นจำนวนเต็มบวก ฉันอยู่ไหน?
                                                ฉันเป็นจำนวนเต็มลบ ฉันอยู่ไหน ?
                                                ฉันคือ ศูนย์ ฉันอยู่ไหน?
                                                ฉันไม่ใช่จำนวนเต็ม ฉันอยู่ไหน?
                                                ฯลฯ
                                3) นักเรียนปฏิบัติตามคำถามของครู โดยการยืนขึ้นและชูบัตรที่เกี่ยวข้องกับคำถาม
                                4) ครูทำการตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนลุกขึ้นแต่ละครั้งด้วย
ขั้นที่ 3 ฝึกฝนผู้เรียน
                1. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ 2.1 ข้อ 1–2 หน้า 23 หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 (บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด)
                2. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเฉลยกิจกรรมฝึกทักษะ 2.1 ข้อ 1–2 หน้า 23 หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 (บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด) โดยครูให้ความช่วยเหลือ และแนะนำ
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้
นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเพื่อนำเข้าสู่จำนวนเต็ม โดยนำสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมาอภิปราย เช่น เปรียบเทียบการเติมน้ำมันรถยนต์ของลุงแดงกับลุงดำ
ขั้นที่ 5 สรุปความคิดรวบยอด
                นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน เรื่องจำนวนเต็ม
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 อภิปรายหัวข้ออะไรคือจำนวนเต็ม แล้วนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. บัตรจำนวนเต็ม ทศนิยม เศษส่วน ฯลฯ
                2. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 (บริษัท สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช
           จำกัด)
          แหล่งการเรียนรูเพิ่มเติม
                1. หนังสือเสริมความรู้คณิตศาสตร์
                2. บุคคลต่าง ๆ เช่น ครู เพื่อน ญาติ ผู้รู้ด้านคณิตศาสตร์
                3. อินเทอร์เน็ต ข้อมูลในการศึกษาเรื่อง จำนวนเต็ม 

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการ_________________________________________________     
   แนวทางการพัฒนา_____________________________________________________            
2. ปัญหา/อุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้_________________________________________        
   แนวทางแก้ไข_________________________________________________________
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน_________________________________________________
   เหตุผล_____________________________________________________________
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ __________________________________________
   __________________________________________________________________
                                         ลงชื่อ __________________________ ผู้สอน
                                               _______ / ________ / ________

สรุป

          กล่าวโดยสรุปแล้ว Backward  Design เป็นกระบวน


การออกแบบการเรียนรู้ที่นำ

  มาตรฐานการเรียนรู้มาเป็นเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน โดยที่ครูผู้สอนจะต้องออกแบบวางแผน

  กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสามารถบรรลุซึ่งจุดหมายหลักสูตรรายวิชานั้นๆ

  และนอกจากนั้นครูผู้สอนจะต้องออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะและ

  แสดงความสามารถ ตามหลักฐานที่เป็นผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้

  ารออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward  Design  ที่ได้หยิบยกมาแลกเปลี่ยนความรู้   เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหา  ยังคงมีรายละเอียดอีกมากมายให้ศึกษา เช่น รูปแบบการประเมินผู้เรียน    ในแต่ละวงของการออกแบบการเรียนรู้ในขั้นที่ 1   เทคนิคการใช้คำถามของผู้สอน และอื่นๆอีกมากมาย  ที่จะให้ท่านร่วมเติมเต็มความสมบูรณ์



ที่มา
ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา. (2550). https://www.gotoknow.org/posts/224435. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561.
สุระ  ดามาพงษ์. (2551). http://www.kruupdate.com/news/newid-1024.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

           http://teaching-maths3.blogspot.com (2553)  ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า   ความหมายของสื่อการเรียนการสอน           สื่อการสอน คือ ...